1
Angelus เป็นภาษาละติน มาจากภาษาอังกฤษคือ Angel แปลว่า "เทวดาหรือทูตสวรรค์" Angelus (อ่านว่า แอง-เจ-ลุส) เป็นบทภาวนาที่ทูตสวรรค์มาแจ้งข่าวการเป็นมารดาของพระผู้ไถ่ให้กับพระนางพรหมจารีย์มารีย์ เป็นนามปากกาสำหรับผลงานการประพันธ์เพลงของบาทหลวงยอแซฟ ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์ ซึ่งกว่าจะมาใช้นามปากกานี้ ก่อนหน้านั้นได้ใช้นามปากกาว่า “ป.พงศ์จิรา” และต่อมาใช้ “มักนีฟีกัต” และ “Banjo” สลับกันบ้าง ส่วน Angelus เกิดขึ้นมาในภายหลังเพราะต้องหาชื่อผู้แต่งมากำกับบทเพลงในอัลบั้มเพื่อพระองค์ ชุด 7 “ความหมายชีวิต” โดย บทเพลงแรกที่ใช้ชื่อผู้แต่งว่า Angelus คือบทเพลง “สุดขอบฟ้า” ซึ่งเป็นเพลงที่แต่งท้ายสุดในอัลบั้มเพื่อพระองค์ ชุด 7 แล้วจากนั้น เพลงอื่น ๆ ก่อนหน้านั้นก็เปลี่ยนชื่อผู้แต่งมาเป็น Angelus ทั้งหมด
Angelus รักการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก วงดนตรีที่โปรดปรานในสมัยนั้น คือวงนกแล และวง XYZ ความสามารถทางด้านดนตรีเริ่มส่อแววมาตั้งแต่สมัยศึกษาอยู่ชั้นประถม โดยเป็นตัวแทนเพื่อนในชั้นเข้าประกวดอ่านทำนองเสนาะและร้องเพลงในงานต่าง ๆ ของโรงเรียน แต่ก็ไม่เคยได้รับรางวัลใดใด คุณครูพยายามดันให้ขึ้นไปร้องเพลงในงานคริสต์มาสประจำปีของโรงเรียน จากนั้นเมื่อเข้าบ้านเณรเล็ก ได้ฝึกฝนการขับร้องประสานเสียง โดยขับร้องในกลุ่มเสียงเทนเนอร์
Angelus เริ่มต้นแต่งเพลงแรกเมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ปีการศึกษา 2535 เนื่องจากเป็นคนที่ชอบแต่งกลอนเขียนบทกวี เพื่อนร่วมชั้นที่เป็นนักดนตรีคนหนึ่งจึงได้เชิญชวนให้แต่งเนื้อเพลงและทำนองร่วมกัน เพลงแรกมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตเณรในบ้านเณรราชบุรี แต่จำชื่อเพลงนั้นไม่ได้แล้ว
จากนั้นมา Angelus จะหาเวลาว่าง ๆ แต่งเพลงเล่น ๆ เป็นงานอดิเรกโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้กำลังใจ ความเป็นเพื่อนและกระแสเรียกการเป็นเณร โดยบางเพลงมีโอกาสนำมาขับร้องในงานรื่นเริงประจำปีของบ้านเณร สร้างความประทับใจและเป็นแรงกระตุ้นให้รุ่นน้องหลายคนอยากลองแต่งเพลงดูบ้าง จนในสองปีสุดท้ายของการเป็นเณรเล็กได้ลองแต่งเพลงที่มีเนื้อหาพูดถึงพระเจ้า โดยเป็นเพลงที่มีโครงสร้างและเนื้อหาง่าย ๆ
เมื่อจบชั้นมัธยมหก ได้ขอลาออกจากบ้านเณรไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ก็ยังมีโอกาสได้ฝึกปรือการแต่งเพลงเรื่อยมา ผลงานเพลงศักดิ์สิทธิ์ที่ดูจะจริงจังและเข้ารูปเข้ารอยก็เมื่อเข้าสู่บ้านเณรกลาง และเพลงอื่น ๆ ก็ติดตามมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้ารับการอบรมในบ้านเณรใหญ่ บทเพลงของ Angelus ก็เริ่มมีความหลากหลายขึ้น ทั้งเพลงมาร์ชประจำสถาบันต่าง ๆ เพลงส่งเสริมความศรัทธา เพลงแม่พระ เพลงนักบุญของคณะนักบวชและวัด เพลงของซิสเตอร์ชีลับ เพลงค่ายเยาวชน รวมทั้งเพลงเพื่อชีวิตสำหรับแต่งประกวดในโอกาสต่าง ๆ หลังจากบวชเป็นพระสงฆ์ ยังได้มีโอกาสแต่งเพลงบ้างตามโอกาสต่าง ๆ เท่าที่มีผู้ขอความช่วยเหลือ....ฯลฯ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ